ooe@spu.ac.th

ooe@spu.ac.th

(+66) 2-561 2222

(+66) 2-561 2222

 มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2410/2 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

มหาวิทยาลัยศรีปทุม 2410/2 ถ.พหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900

การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน | Inflight Service Learning

การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน | Inflight Service Learning

คำอธิบายรายวิชา

ชื่อวิชา เรียนรู้การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน ตามคุณวุฒิวิชาชีพสาขาต้อนรับบนเครื่องบิน Inflight Service Learning (According to the Occupation Standard and Professional Qualifications framework) พัฒนารายวิชาโดย : อาจารย์ วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์ และ ทีมคณาจารย์ผู้สอนจาก สาขาวิชา ธุรกิจการบิน วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

สิ่งที่ผู้เรียนจะได้รับ

  • ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน มีความรู้เรื่องอากาศยาน
  • ชนิดของอากาศยาน และส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆของอากาศยาน
  • อธิบายถึงสาเหตุที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อความปลอดภัยในเที่ยวบิน
  • อธิบายขั้นตอนการดูแลความปลอดภัยและการรับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดขึ้นในเที่ยวบิน
  • มีความรู้และเรียงลำดับขั้นตอนการให้บริการเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มต่างๆๆด้
  • มีความรู้ในการอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้โดยสารบนเครื่องบิน สามารถบอกหลักการของการปฐมพยาบาลขั้นต้น และสามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน

คณาจารย์ผู้สอน

Aj Pop อาจารย์ วัชราภรณ์ อรานุเวชภัณฑ์ วิทยาลัยท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
Aj Golf อาจารย์ ดร.วสวัตติ์ สุติญญามณี วิทยาลัยท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 Aj Mai อาจารย์ สุรัสวดี จักษุรักษ์ วิทยาลัยท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
 Aj kong อาจารย์ ผศ.ธนกร ณรงค์วานิช วิทยาลัยท่องเที่ยวและการบริการ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ข้อมูลเพิ่มเติม

เวลาในการศึกษา :
  • 10 ชั่วโมงการเรียนรู้
เวลาในการศึกษาต่อสัปดาห์ :
  • 1 ชั่วโมงการเรียนรู้ (เรียนแบบออนไลน์ 100%)
ประเภทของการเรียนในรายวิชา :
  • เรียนด้วยตนเอง
กำหนดการสอน : 
  • เนื้อหาทั้งสิ้น 10 บท โดย 1 บทใช้เวลาเรียน 1 ชั่วโมงการเรียนรู้
ค่าธรรมเนียมการเรียน :
  • ไม่มี
สื่อการเรียนรู้ :
  • วีดิทัศน์สื่อการเรียนรู้ เอกสารประกอบการสอน กรณีศึกษา และแบบทดสอบที่ใช้ในการเรียนการสอน
ภาษาหลักของสื่อการสอน :
  • ภาษาไทย
ระดับความยากง่ายของเนื้อหา :
  • ระดับเบื้องต้น
ความรู้พื้นฐานที่ต้องมี :
คุณสมบัติผู้เรียน :
  • สามารถใช้งานคอมพิวเตอร์ โปรแกรมพื้นฐานทั่วไป
  • สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้
รายวิชานี้เหมาะสมกับ : 
  • นิสิต-นักศึกษาระดับปริญญาตรี ไม่จำกัดสาขา / นักเรียน / ประชาชนทั่วไป
วัตถุประสงค์การเรียนรู้ :
  1. ผู้เรียนสามารถอธิบายบทบาทหน้าที่ กระบวนการดำเนินงานในการให้บริการผู้โดยสารบนเครื่องบินได้
  2. ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนในการดำเนินงานด้านการดูแลความปลอดภัยในงานบริการบนเครื่องบิน
  3. ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนในการตรวจเช็คและเลือกใช้อุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
  4. ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนและเลือกใช้อุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างถูกต้อง
  5. ผู้เรียนสามารถอธิบายขั้นตอนการให้บริการบนเครื่องบินและ สามารถอธิบายขั้นตอนในการจัดการสถานการณ์ฉุกเฉินที่อาจเกิดขึ้นในเที่ยวบินได้อย่างเหมาะสม
เกณฑ์การผ่านวิชา และได้ใบประกาศนียบัตร (หากมี):
  1. ตกลงรับเงื่อนไขรายวิชา (Course Agreement)                            5  คะแนน
  2. กิจกรรมประเมินตนเอง (Checklist)                                                5  คะแนน
  3. แบบทดสอบหลังชั่วโมงเรียนรู้ (Post-Test)                                  30  คะแนน
  4. แบบทดสอบประมวลความรู้รายวิชา (Comprehensive Quiz)      30  คะแนน
  5. แบบทดสอบหลังเรียน (Final Exam)                                             40 คะแนน
ผู้เรียนต้องมีคะแนนสอบรวมทั้งหมด 70% ขึ้นไป จึงจะถือว่าผ่านเกณฑ์เพื่อรับใบประกาศนียบัตรในระบบได้
ประมวลรายวิชา :  ประมวลรายวิชา (PDF)

ลำดับเนื้อหาของการสอน

ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 1 
  • แนะนำรายวิชา และทำกิจกรรมก่อนการเรียนรู้
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 2
  • บทที่ 1 – บทบาทและหน้าที่ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 3
  • บทที่ 2 – การดำเนินงานให้การบริการผู้โดยสารบนเครื่องบินแล้ว
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 4
  • บทที่ 3 – การสื่อสารระหว่างพนักงานต้อนรับบนเครื่องบินและผู้สนับสนุนงานบริการภาคพื้นและงานอื่นที่เกี่ยวเนื่อง
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 5
  • บทที่ 4 – ขั้นตอนในการดำเนินงานด้านการดูแลความปลอดภัยในงานบริการบนเครื่องบิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 6
  • บทที่ 5 – การให้บริการอาหารและเครื่องดื่มและการบริการอื่นๆที่ให้บริการบนเครื่องบิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 7
  • บทที่ 6 – การตรวจเช็คและเลือกใช้อุปกรณ์นิรภัยที่เหมาะกับสถานการณ์ฉุกเฉิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 8
  • บทที่ 7 – ผู้การให้บริการบนเครื่องบินเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 9
  • บทที่ 7 -ผู้การให้บริการบนเครื่องบินเมื่อเกิดสถานการณ์ฉุกเฉิน
ชั่วโมงเรียนรู้ที่ 10
  • สรุป เนื้อหาการเรียนรู้ และ แบบประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน พัฒนาในกรอบความร่วมมือของ เครือข่ายอุดมศึกษาภาคกลางตอนบน
 
https://www.spu.ac.th/fac/tourism/
Office of Online Education at SPU
CC-BY-NC-SA